2563-04-15

ปวดไหล่คอ


แก้ปวดไหล่, ปวดไหล่แขนชา, ปวดไหล่คอ, ยาปวดไหล่, ปวดไหล่รักษา
ปวดเมื่อยบริเวณไหล่เป็นอาการที่พบบ่อย และทุกวันนี้พบในวัยรุ่นและวัยทำงานมากขึ้นซึ่งต่างจากเดิมที่พบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันสภาพสังคมและวิถีชีวิตแปรเปลี่ยนไปมาก

ปวดไหล่เกิดจากสาเหตุอะไร

·         อิริยาบถหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะ: การถือหรือหิ้วของหนักเกินไป การใช้มือหรือแขนข้างใดข้างหนึ่งทำงานหนักเกินไป การสะพายกระเป๋าข้างใดข้างหนึ่งเป็นประจำ การเขียนหนังสือหรือใช้คอมพิวเตอร์นานๆ การสวมใส่รองเท้าส้นสูงเกินไป การนอนหมอนสูงเกินไป การเอี้ยวตัวไปหยิบของ ฯลฯ
·         ความเครียดทางจิตใจ: ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การเรียน การงาน ครอบครัว การพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่หดเกร็ง
·         ได้รับบาดเจ็บบริเวณหัวไหล่: ได้รับแรงกระแทกบริเวณไหล่หรือกระดูกต้นคอกดทับรากประสาททำให้เกิดอาการปวดไหล
·         พิษของลมและเย็น-ชื้นเข้าแทรกในร่างกาย: การตากลม ตากแอร์หรือตากฝน ที่อยู่อาศัยอากาศถ่ายเทไม่ดีและมีความอับชื้นหรือทำงานในที่ที่มีความชื้นสูง ทำให้พิษของลมและเย็น-ชื้นแทรกเข้าไปในร่างกายและสะสมเป็นก้อนกีดขวางระบบการไหลเวียนของโลหิต กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณไหล่จึงไม่ได้รับการหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอจนเกิดอาการปวดเมื่อยบริเวณหัวไหล่
·         ความเสื่อมของร่างกาย: โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสื่อมของไต ทำให้พลังชี่ซึ่งเป็นแรงผลักดันของระบบการไหลเวียนของโลหิตพร่องลง เลือดลมจึงไหลเวียนไม่สะดวกประกอบกับพลังไฟมิ่งเหมินจากไตที่ให้พลังความอบอุ่นแก่ร่างกายก็อ่อนลงไปด้วย จึงไม่สามารถขจัดพิษลมและเย็น-ชื้นที่สะสมในร่างกาย

ปวดไหล่รักษา

อาการปวดไหล่มีชนิดใดบ้าง

                ปวดไหล่ชนิดเฉียบพลัน: กล้ามเนื้อบริเวณไหล่อักเสบ บวมแดงและเวลายกแขนจะมีอาการปวดมากขึ้น
ปวดไหล่ชนิดเรื้อรัง: อาการปวดเมื่อยบริเวณไหล่จะค่อยเป็นค่อยไปและจะค่อยๆปวดมากขึ้น ซึ่งพบบ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน
ปวดไหล่ชนิดข้อไหล่อักเสบจนข้อไหล่ยึดติด: พบบ่อยในผู้ที่มีอายุประมาณ 50 ปี จึงได้ชื่อว่า ข้อไหล่ 50 (50肩) ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการปวดเมื่อยข้อไหล่แบบเรื้อรัง ข้อไหล่ 50 มักเกิดจากความเสื่อมของไต  ส่วนพิษลมและเย็น-ชื้นที่แทรกเข้าไปในร่างกายจะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการปวดไหล่กำเริบเร็วขึ้น อาการปวดไหล่ 50 อาจเริ่มจากการปวดเมื่อยเล็กๆ น้อยๆ และเป็นมากขึ้นจนลุกลามไปที่ต้นคอ สะบักและต้นแขน รวมทั้งอาจมีอาการชาถึงปลายนิ้วข้างเดียวกับไหล่ที่ปวด ตอนกลางคืนจะปวดมากกว่าตอนกลางวัน บางครั้งอาจปวดจนตื่น อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนถูกมีดกรีด ทำให้ยกแขนไม่ขึ้น จะหวีผม ใส่เสื้อหรือไพล่มือติดตะขอเสื้อชั้นในก็ไม่ได้ ถ้าไม่รักษากล้ามเนื้อจะลีบลงและกลายเป็นพังผืดทำให้ข้อไหล่ยึดติด

การแพทย์จีนจะบำบัดอาการปวดไหล่อย่างไร

การแพทย์จีนแนะนำสิ่งที่ผู้ป่วยปวดไหล่ควรปฏิบัติเบื้องต้นคือ ปรับเปลี่ยนอิริยาบถให้ถูกสุขลักษณะ ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการตากลมหรือตากแอร์โดยตรง  และควรสวมใส่เสื้อที่มีแขนปกคลุมบริเวณไหล่ตอนเข้านอนเพื่อมิให้ความเย็นเข้าแทรกพร้อมกันนั้นควรใช้วิธีบำบัดแบบองค์รวมควบคู่กันไป
·         ขจัดพิษลมและเย็น-ชื้นในร่างกาย  เพื่อหยุดยั้งการลุกลามของโรค
·         กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต  เพื่อลดอาการอักเสบและอาการปวด
·         บำรุงไตเพื่อเสริมสร้างพลังชี่และพลังไฟมิ่งเหมิน  ขจัดต้นเหตุสำคัญของอาการปวดไหล่




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น